2023-10-24 13:05:05
จำนวนครั้งที่อ่าน : 138
การรักษาหลุมสิว
เนื่องจากหลุมสิวมีหลายประเภท อีกทั้งมีระดับความรุนแรงต่างกัน วิธีการรักษาในแต่ละเคสอาจต้องใช้วิธีการรักษาที่ต่างกัน หรือทำร่วมกันถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี โดยมีวิธีการรักษาที่ช่วยให้หลุมสิวดีขึ้นมีหลายวิธี แต่ยังไม่มีวิธีที่ได้ผล 100% ผลการรักษาจึงขึ้นอยู่กับชนิดของหลุมสิว
1. รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ (Laser)
เลเซอร์หลุมสิว (Laser) เป็นการรักษาหลุมสิวที่ได้รับความนิยม เพราะเห็นผลลัพธ์ได้ดี โดยเลเซอร์ที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหลุมสิว มีทั้งชนิดลอกผิว และไม่ลอกผิว โดยแพทย์จะแนะนำชนิดเลเซอร์ต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะหลุมสิวในแต่ละเคส โดยชนิดของเลเซอร์ที่นิยมใช้ได้แก่ Fractional Co2 Laser, Fraxel, Fine Scan, Pico Laser, e-matrix เป็นต้น
ข้อดี ของการใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิวคือ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สร้างเซลล์ใหม่ ผลัดเซลล์ผิวเก่า ทำให้ผิวชั้นบนเรียบเนียนขึ้น ส่งผลให้หลุมสิวตื้นขึ้น และลดปัญหารูขุมขนกว้างได้ เว้นระยะห่างในการรักษาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ชั้นผิวมีระยะเวลาการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใหม่มาทดแทนผิวที่เสียหาย
ข้อควรระวังคือ หลังทำจะมีผลข้างเคียงคือ ผิวแดงมีการตกสะเก็ด ผิวแห้งลอก ต้องอาศัยระยะเวลาในการพักฟื้น เลี่ยงการออกแดดจัด และทาครีมกันแดดทุกครั้ง ใครที่สนใจวิธีนี้จะต้องวางแผนให้ดี เพราะไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้หน้าได้เลย
2. คลื่นวิทยุ (Radiofrequency – RF)
การใช้คลื่นวิทยุ RF รักษาหลุมสิวคล้ายกับการใช้เลเซอร์ คือปล่อยพลังงานให้เกิดความร้อนที่ชั้นผิว เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนที่ผิวชั้นล่าง แต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น หน้าบวม แดง รวมถึงอาศัยระยะเวลาในการพักฟื้น เทียบกับเลเซอร์พักฟื้นสั้นกว่า โดยที่ผลของการรักษาหลุมสิวไม่ค่อยต่างกันมาก
3. กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Dermabrasion)
วิธีรักษาหลุมสิวด้วยการผลัดเซลล์ผิว ด้วยเกล็ดอัญมณีที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้กับหลุมสิวชนิด Rolling scars หรือ Box scars ได้ เป็นวิธีที่ต้องใช้ความชำนาญของแพทย์สูงในการกรอผิวหนังส่วนที่เป็นแผลเป็นออก เพื่อให้การสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน จึงช่วยลดรอยสิว รอยหลุมสิว รอยแผลเป็น รวมถึงจุดด่างดำจากสิวบนใบหน้าลดเลือนลง และสภาพผิวให้ดูเรียบเนียนขึ้น
4. ใช้กรดลอกผิว (Chemical Peeling)
การทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดลอกออก จะช่วยให้รอบหลุมสิวตื้นขึ้น โดยใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดความเข้มข้นต่าง ๆ กัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
ระดับชั้นหนังกำพร้า (Superficial chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Glycolic acid,lactic acid ,Salicylic acid, Trichloroacetic acid (TCA) ในระดับ % ที่ต่างกัน เป็นต้น หลังทำจะช่วยให้รอยแผลเป็นหลุมสิว ชนิด Ice pick scars แบบตื้น ๆ และ Rolling scars ดีขึ้น ช่วยลดรอยแดง รอยดำ ทำให้ผิวนุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระตุ้นให้เซลล์ผิวใหม่แบ่งตัวขึ้นมาบริเวณรอบหลุม พร้อมแก้ไขเซลล์ ผิวหนังชั้นนอกที่มีปัญหากลับคืนสู่สภาพปกติ รูขุมขนกระชับขึ้น
ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้น (Intermediate chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Trichloroacetic acid (TCA)
ระดับชั้นหนังแท้ชั้นลึก (Deep chemical peeling) สารที่ใช้เช่น Phenol เป็นต้น
โดยการทำ Chemical Peeling ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้นและลึก มีข้อดีเหมือนการทำ Chemical Peeling ระดับชั้นหนังกําพร้าแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยดําและรอยแผลเป็นมากขึ้น
5. ใช้ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอหรือกรดวิตามินเอ
การรักษาหลุมสิวด้วยการใช้ยากลุ่มวิตามินเอ หรืออนุพันธุ์วิตามินเอ เช่น Retin A (เรตินเอ), Retinoid (เรตินอยด์), Retinol (เรตินอล) โดยตัวยากลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติในการช่วยปรับโครงสร้างผิวชั้นบน (ผิวหนังชั้นเคราติน) ให้เรียบเนียน ช่วยผลัดเซลล์ผิวให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น สร้างเซลล์ผิวใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน รวมถึงลดการอุดตันของเคราตินในรูขุมขน ลดการอักเสบของสิว หลุมสิวประเภท Rolling scar เพราะเป็นหลุมสิวตื้น ๆ อยู่ในระดับที่ยังไม่ลึกมาก
ข้อควรระวังคือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวแห้ง แสบ หน้าแดง ผิวลอก ทำให้ผิวระคายเคืองจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และเลี่ยงการโดนแสงแดด เพราะผิวจะไวต่อแสงแดดมากขึ้น ข้อสำคัญคือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ห้ามใช้สารในกลุ่มนี้ เพราะจะทำให้เด็กในครรภ์เกิดอันตรายได้
6. การตัดพังผืด (Subcision)
การตัดพังผืดหลุมสิว หรือ subcision หลุมสิว เป็นวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กตัดเลาะพังผืดใต้ผิวหนังออก เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวมานาน และกระจายเต็มผิวหน้า เป็นหลุมสิวชนิด rolling scar และ box car หรือแผลเป็นที่มีขอบชัดและมีขนาดลึก
ข้อดีคือหลังทำสามารถเห็นเปลี่ยนแปลงได้ทันทีระดับหนึ่ง แต่จะเห็นผลชัดเจนเมื่อทำติดต่อกัน 3-5 ครั้ง โดยเว้นระยะในการทำแต่ละครั้ง 3 – 6 สัปดาห์ เพื่อให้มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่เข้าไปในช่วงว่างที่ตัดพังผืดออกแล้ว จึงเติมเต็มให้รอยหลุมสิวดูตื้นขึ้น และทำให้หลุมสิวลดน้อยลงด้วย สามารถทำร่วมกับการฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวได้เช่นกัน เพื่อให้เห็นผลเร็วขึ้น
ข้อระวังคือ หลังทำอาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการบวม เขียว ช้ำ และหากคนไข้ดูแลรักษาแผลไม่ดีพอ อาจติดเชื้อ หรือมีรอยแผลใหม่จากการรักษาได้
7. การผ่าตัด (Punch Excision)
การผ่าตัดหลุมสิว เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาหลุมสิว วิธีการคือจะใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก ประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร ตัดบริเวณป็นหลุมสิว จากนั้นแพทย์จะทำการดึงขอบ 2 ข้างที่เป็นผิวปกติมาเย็บติดกัน เหมาะกับการรักษาหลุมสิวชนิด Ice pick scar ที่เป็นมานาน และหลุมสิวชนิด Box scar แต่ขนาดขอบไม่ควรกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร เพราะหากหลุมสิวที่ใหญ่กว่านี้ หลังผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นที่ไม่สวยตามมาได้
8. การฉีดสารเติมเต็มหรือฉีดฟิลเลอร์ (Fillers injection)
การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถทำร่วมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้ เพื่อให้เห็นผลัพธ์เร็ว และมีประสิทธิภาพ วิธีการคือ ใช้สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) ฉีดเข้าไปบริเวณหลุมสิว เพื่อเติมเต็มหลุมสิวให้ดูตื้นขึ้น เป็นการแก้ปัญหาหลุมสิวแบบเร่งด่วน
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับวิธีรักษาหลุมสิวแบบต่างๆที่นำมาฝากกัน ท่านใดที่มีปัญหา หลุมสิวกวนใจ สามารถเข้ามาปรึกษา ตรวจสภาพผิว และทำการรักษาได้ที่ ตรีชฎา-คลินิก จ.อุบลราชธานีนะคะ...รักษา หลุมสิว คิดถึงเรา
วันนี้ ลากันไปก่อน พบกันใหม่ บทความหน้านะคะ
ขอบคุณมากค่ะ 🙏🙏🙏
ตรีชฎา-คลินิก คลินิกรักษาสิว จังหวัดอุบลราชธานี รักษาสิว ทุกชนิด สิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวฮอร์โมน สิวสเตียรอยด์ แพ้ครีม แพ้เครื่องสำอาง ทรีทเม้นท์ ไอพีแอล เลเซอร์ คิดถึงเรา โทร 061-550-9396 LINE ID: @629inyrd
Share to Social Networks
บริการเว็บไซต์โดย 8columns.com